ดูแลโภชนาสำหรับผู้สูงอายุ

ดูแลโภชนาสำหรับผู้สูงอายุ

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุชลบุรี สายใย เนิร์สซิ่งโฮม

ดูแลโภชนาสำหรับผู้สูงอายุ

โภชนาสำหรับผู้สูงอายุ

สูงอายุแล้วทานอะไรดี? เป็นคำถามที่พบบ่อยมาก และผู้สุงอายุแต่ละท่านก็มีโรคประจำตัวที่แตกต่างกัน แต่จะอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ได้ดังนี้ค่ะ

ผู้สูงอายุจะมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย ตามธรรมชาติเช่น ฟันโยก ต่อมรับรสที่ลิ้นได้น้อยลง กล้ามเนื้ออ่อนแรงการกลืนลำบาก มีปัญหาสำลักเป็นต้น

อีกทั้งอาจจะมีในเรื่องของโรคประจำตัวที่ต้องทำให้จำกัดอาหาร เกิดความเบื่ออาหาร มีอาการท้องอืดจากการขยับตัวได้น้อย สาเหตุเหล่านี้มีผลกระทบต่อ

การรับประทานอาหาร และทำให้ผู้สูงอายุทานอาหารได้น้อย ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน ส่งผลให้การฟื้นฟูสุขภาพเป็นไปได้ช้า สุขภาพแย่ลงได้

 

หลักในการจัดอาหารสำหรับผู้สูงอายุ

1.โภชนาการ อาหารให้พลังงานพอเหมาะ แต่มีสารอาหารเยอะ

2.ลักษณะอาหาร เคี้ยวกลืนได้ง่าย ย่อยได้ง่าย อ่อนนุ่ม

3.การนำเสนอ น่ารับประทาน สีสันสวยงาม อุณหภูมิเหมาะสม กลิ่นหอม

4.รสชาติ ไม่จัดมาก อาจใช้เครื่องเทศ สมุนไพร ช่วยเพิ่มกลิ่นและรส

5.สุขอนามัย อาหารสะอาด การเตรียมอาหารถูกสุขลักษณะ มีอนามัยที่ดี

6.โรคประจำตัว สอดคล้องกับแผนการรักษาของแพทย์

 

หากผู้สูงอายุรับประทานอาหารได้น้อย ทำให้ได้สารอาหารไม่เพียงพอต่อวัน อาจจะเสริมเป็นอาหารทางการแพทย์ 

ใช้เพื่อเสริมมื้ออาหารแก่ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่ไม่สามารถได้รับพลังงานและสารอาหารเพียงพอจากอาหารทั่วไป หรือใช้เป็นอาหารที่ให้ผ่านสายให้อาหาร

 

อาหารทางการแพทย์มีสารอาหารหลัก (คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน) และสารอาหารรอง (วิตามิน แร่ธาตุ) ครบถ้วน

ปัจจุบันมีหลากหลายยี่ห้อโดยมีการดัดแปลงสูตรเพื่อให้เหมาะสมกับผู้ป่วยที่มีสภาวะของโรคที่แตกต่างกัน ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแล

รวมถึงนักกำหนดอาหาร เพื่อประเมินความต้องการพลังงานและสารอาหาร แล้วนำมากำหนดปริมาณการใช้อาหารทางการแพทย์ให้เหมาะสม

แต่ถ้าผู้สูงอายุสามารรับประทานอาหารได้ ไม่มีโรคประจำตัวหรืออาการใด ๆ ที่ทำให้กินข้าวได้น้อยลง ก็ไม่มีความจำเป็นต้องใช้

 

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุของเราคำนึงในเรื่องของอาหารเป็นอย่างยิ่ง เพราะการรับประทานอาหารให้ได้เพียงพอจะเป็นกำลังในการช่วยฟื้นฟู

และซ่อมแซมส่วนต่างๆของร่างกาย เมื่อแรกเข้าเรามีแพทย์และพยาบาลตรวจและประเมินร่างกาย นำมาวางแผนการดูแลกำหนดในเรื่องของอาหาร

ว่าร่างกายต้องเสริม หรือลดอะไรบ้าง ให้ได้รับพลังงานอย่างเพียงพอ คือ วันละ 1,500 - 2,000 กิโลแคลอรี จัดอาหารให้ครบ 5 หมู่

มีความหลากหลาย วันละ 3 มื้อ มีอาหารว่าง 2 มื้อ โดยทุกมื้อมีผักผลไม้เพิ่มกากใยอาหาร และกระตุ้นดื่มน้ำเพื่อป้องกันภาวะท้องผูกด้วย

 

ทางทีมดูแลจะมีการจดบันทึกปริมาณอาหารและน้ำที่ได้รับเพื่อติดตามอาการทุกวัน รวมถึงการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สุงอายุ

เรามีการดูแลให้แปรงฟัน/ บ้วนปาก และตรวจสุขภาพฟันทุกวัน เนื่องจากผู้สูงอายุหากมีฟันผุ เหงือกอักเสบ จะทำให้ความอยากอาหารลดลง และเกิดการติดเชื้อได้

 

ในส่วนของการจัดเตรียมอาหารก็มีความสำคัญ เราได้จัดให้บริเวณที่เตรียมอาหารเป็นสัดส่วน แยกของใช้แก้วน้ำ เหยือกนำเป็นรายบุคคล

มีการทำความสะอาดของใช้ทุกวัน พร้อมอุปกรณ์ไฟฟ้าไมโครเวฟ ตู้เย็น กาน้ำร้อน เพื่อช่วยถนอมอาหาร และอุ่นร้อนสำหรับเตรียมอาหารให้ผู้สุงอายุ

รวมทั้งห้องรับประทานอาหารที่ออกแบบให้พร้อมใช้ทั้งผู้สูงอายุทั่วไป และผู้สุงอายุที่ต้องนั่งรถเข็น โดยใช้เฟอร์นิเจอร์โต๊ะโค้งเว้า แสงสีที่สบายตา กระตุ้นให้อยากรับประทานอาหาร